วิธีใช้ i numbers

ทำความรู้จัก i numbers

ทำให้สร้างกระดาษคำนวณที่สวยงามและกระตุ้นความสนใจเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นด้วยแม่แบบใดแม่แบบหนึ่ง จากนั้นแก้ไขแม่แบบตามที่คุณต้องการ แม่แบบล่ะแม่แบบมาพร้อมกับลักษณะที่อกกแบบไว้ก่อนแล้ว สำหรับวัตถุต่างๆ เช่น ตาราง แผนภูมิ  ข้อความ รูปร่าง และอื่นๆ

การสร้างหรือเปิดกระดาษคำนวณ

เมื่อคุณสร้างกระดาษคำนวณใหม่ คุณจะเลือกทั้ง แม่แบบ ว่างเปล่า ซึ่งคุณจะสามารถเพิ่มตาราง แผนภูมิ ข้อความ และวัตถุต่างๆ ได้ หรือแม่แบบที่ออกมาโดย Apple ซึ่งมีองค์ประกอบตัวยึดต่างๆ รวมทั้งข้อความตาราง และ รูปภาพ แม่แบบเหล่านี้ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์

การแทนที่แม่แบบหรือตัวยึด

แม่แบบ numbers ส่วนใหญ่มีแผนภูมิ ตาราง ข้อความ และรูปภาพที่คุณสามารถแก้ไขแทนที่ ลบ

  • การแทนที่ข้อความตัวยึด  เลือกข้อความ จากนั้นป้อนข้อความของคุณเอง
  • การแทนที่รูปภาพตัวยึด  คุณยังสามารถลากรูปภาพจาก Finder ไปบนรูปภาพตัวยึดได้อีกด้วย

การจัดระเบียบกระดาษคำนวณด้วยแผ่นงาน

คุณสามารถเพิ่มแผ่นงานหลายรายการเพื่อช่วยให้คุณจัดระเบียบตาราง แผนภูมิ และข้อมูลอื่นๆ ของคุณได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น คุณสามารถแยกการวางแนจัดงานรื่นเริงเป็นแผ่นงานต่างๆในเรื่องบัญชี รายการแขก ข้อมูลผู้ขาย และรายการงาน

การปรับแต่งแอป ของคุณด้วยตัวเอง

คุณสามารถปรับแต่งหน้าต่าง numbers ด้วยตัวเองเพื่อช่วยให้คุณสร้างและจัดระเบียบกระดาษคำนวณของคุณได้ดียิ่งขึ้น

การเลิกทำการเปลี่ยนแปรงและเปลี่ยนกลับมาใหม่

คุณสามารถเลิกทำการเปลี่ยนแปรงใดๆ หรือเปลี่ยนกลับมาใหม่ได้หากคุณต้องการ

try-mind-mapping-mindmap-1024x800
Mind Map คืออะไร?

Mind Map (แผนที่ความคิด) คือ เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง คิดค้นโดยชาวอังกฤษชื่อ Tony Buzan ซึ่งเค้าว่าเครื่องมือนี้ คือ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด)

มีลักษณะสำคัญคือ มีการเชื่อมโยง จากไอเดียหลักตรงกลาง แตกกิ่งออกไปเรื่อยๆ
ประกอบไปด้วย “คำสำคัญ” และ “รูปภาพ” โดยองค์ประกอบเหล่านี้มีการเชื่อมโยงถึงกันด้วย “เส้น” และมีการกระตุ้นด้วยการใช้ “สี“

Mind Map ประโยค

-ขเห็นภาพรวมของสิ่งต่างๆ

-จำสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น (เพราะสมองทำการเขื่อมโยงสิ่งที่เราต้องการจำ เมื่อมีการเชื่อมโยงจะทำให้จำได้แม่นขึ้น)
-สามารถค้นพบไอเดียใหม่ๆ
-หาข้อบกพร่อง/จุดอ่อน
-วางแผนการทำงาน
-จัดลำดับ Presentation ผลงาน / Story Board
-ช่วยตัดสินใจ
-คิดได้อย่างเป็นระบบ คิดครบ
-จด/สรุป สิ่งที่ต้องการเรียนรู้ได้ในรูปแบบที่รวดเร็ว / ทบทวนได้ง่าย
how-to-mind-map-by-paul-foreman-1000px

Mind Map คือ

Mind Map หรือ แผนที่ความคิด เป็นวิธีการบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพของความคิดที่หลากหลายมุมมอง ที่กว้าง และที่ชัดเจน โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการเขียนตามความคิด ที่เกิดขึ้นขณะนั้น การเขียนมีลักษณะเหมือนต้นไม้แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเรื่อยๆ ทำให้สมองได้คิดได้ทำงานตามธรรมชาติ และมีการจินตนาการกว้างไกล

meppem1

แผนที่ความคิด ยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการบันทึกความคิดของการอภิปรายกลุ่ม หรือการระดมความคิด โดยให้สมาชิกทุกคนเสนอความคิดเห็น และวิทยากรจะทำการจดบันทึกด้วยคำสั้นๆ คำโตๆ ให้ทุกคนมองเห็น พร้อมทั้งโยงเข้าหากิ่งก้านที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อรวบรวมความคิดที่หลากหลายของทุกคน ไว้ในแผ่นกระดาษแผ่นเดียว ทำให้ทุกคนได้เห็นภาพความคิดของผู้อื่นได้ชัดเจน และเกิดความคิดใหม่ต่อไปได้

โปรแกรม มายแมพ

2664_120315160539Py

FreeMind (โปรแกรม สร้าง Mind Map) สำหรับโปรแกรมนี้มีชื่อว่า โปรแกรม FreeMind มันเป็นโปรแกรมที่เอาไว้ให้คุณได้ว่า แผนภูมิความคิด หรือ ผังมโนภาพ (Mindmap) ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยภาษาจาว่า แจกฟรี โดยโปรแกรมนี้มันเป็น โปรแกรมวาดรูป ที่ให้คุณได้สามารถวาด Mindmap ได้อย่างลงตัว ซึ่งมันจะมีประโยชน์มากๆ ในเวลาที่คุณอยู่ในห้องประชุมกันหลายๆ คน แต่ละคนก็จะมีไอเดียของตัวเองพรั่งพรูออกมา เยอะแยะมากมายเต็มไปหมด หากไม่ได้จดบันทึกอะไรไว้เลย ไอเดีย ความคิดต่างๆ ก็จะหายไปหลังการประชุม ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แต่ถ้าหากเรามี โปรแกรมวาดแผนภูมิความคิด ดีๆ สักตัวอย่าง โปรแกรม FreeMind โปรแกรมนี้ มันก็จะช่วยให้คุณได้สามารถจดบันทึกสิ่งต่างๆ ลงไปในโปรแกรมได้เยอะแยะมากมาย

โปรแกรม FreeMind นี้มันมีการเรียงข้อมูลเป็นลำดับชั้น แยกย่อยลงมาจากหัวข้อหลัก งานหลัก เป็นหัวข้อย่อยๆ (Subtask) แตกลึกลงไปเรื่อยๆ โดยโปรแกรมนี้มันมีความสามารถ เครื่องมือ ลูกเล่น ต่างๆ ให้คุณได้สามารถวาดได้มากมาย มีลูกศร เส้น กรอบ รูปทรง ต่างๆ หรือจะเป็นการใส่สีเข้าไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ โปรแกรม FreeMind นี้เขามีให้เลือกใช้มากมาย ตามสไตล์ที่คุณถนัดและมันยัง มีให้เลือกใช้งานกันได้บนทุกแพลตฟอร์ม (ระบบปฏิบัติการ) อย่าง Windows รวมไปถึงระบบปฏิบัติการ MacOS และ Linux อีกด้วย

ae6992838b119f2ac6449a726d69a7b7

วิชา ศิลปะ ใบงานที่ 4

เรื่อง ” สีโทนร้อน – สีโทนเย็น ”

ชื่อภาพ ” วงกลมสีสัน ”

  สิ่งที่ได้รับจากงาน ” ได้รู้ว่า สีโทนร้อนมีอะไรบ้าง เเละ สีโทนเย็นมีอะไรบ้าง ”

ชื่อ ปวีณ์ธิดา คำแสน เลขที่ 13 ชั้น ม.2/1

วิชา ศิลปะ ใบงานที่ 3

เรื่อง ” รูปร่าง-รูปทรง เลขาคณิต ”

ชื่อภาพ ” บ้านเลขาคณิต ”

สิ่งที่ได้รับจากใบงาน ” ได้รู้ว่ารูปเลขาคณิตมีอะไรบ้าง เเละ สามารถนำรูปเลขาคณิตไปวาดอะไรได้บ้าง ”

ชื่อ ด.ญ.ปวีณ์ธิดา  คำแสน  เลขที่ 13  ชั้น ม.2/1

  

วิชาศิลปะ ใบงานที่2

เรื่อง ” น้ำหนักอ่อน-แก่ ”

ชื่อภาพ ” Piglit อ่อนแก่ ”

สิ่งที่ได้รับจากใบงาน ” ได้ฝึกใช้ในการไล่สี ”

ชื่อ ด.ญ. ปวีณ์ธิดา   คำแสน   เลขที่ 13   ชั้นม.2/1 

 

วิชาศิลปะ ใบงานที่1 

เรื่อง ” จุดสร้างสรรค์ ”

ชื่อภาพ ” Hello Kitty ”

สิ่งที่ได้รับจากใบงาน ” ได้ฝึกใช้จุด เเละการวาดภาพ เเละความคิดสร้างสรรค์ที่ได้จากภาพนี้

ชื่อ ด.ญ.ปวีณ์ธิดา  คำแสน   เลขที่ 13   ชั้น ม.2/1

  

สรุปเนื้อหารายวิชา 16 /6 /2558

วิชา  อังกฤษเพิ่ม   (ครูนภนนท์  ฟ้าแลป)

วันสำคัญของประเทศไทย

1. New year Day วันขึ้นปีใหม่

2. Teacher Day วันครู

3.Chinese new year day วันตรุษจีน

4.Valentine day วันวาเลนไทน์

5.Coronation day วันฉัตรมงคล

6.Visakha bucha day วันวิสาขบูชา

7.Sunthornphu day วันสุนทรภู่

8.Asarnha lent day วันอาสาฬหบูชา

9.H.M. the queen birthday วันแม่

10.H.M. the king birthday  วันพ่อ

11354747_784212251698044_86766425_n

แบบฝึกหัด

วันสิ้นปี ภาษาอังกฤษอะไร ?
1.New year Day ( ผิดเพราะ แปลว่า วันขึ้นปีใหม่)

2. Christmas Day( ผิดเพราะ แปลว่า วันคริสมาตร์)

3. Teacher Day( ผิดเพราะ แปลว่า วันครู)

4. New Year’s Eve( ถูกเพราะ แปลว่า วันสิ้นปี)

 
วิชา สังคมศึกษา  (ครูนิยม  ชมชื่น)

ประวัติพระพุทรเจ้า

ประสูติ
คืนหนึ่งพระนางทรงสุบินนิมิต (ฝัน) ว่า มีท้าวมหาพรหมทั้งสี่ มายกแท่นบรรทม ของพระนาง ไปวางลงไว ภายใต้ต้นสาละใหญ่ ณ ป่าหิมพานต์ (ต้นสาละเป็นต้นไม้สกุลเดียว กับต้นรังของเรา) เหล่าเทพธิดาพากันนำพระนาง ไปสรงสนานในสระอโนดาต ซึ่งอยู่ข้างๆ ต้นสาละนั้น เพื่อชำระล้างมลทิน ในขณะนั้น มีลูกช้างเผือกเชือกหนึ่ง ถือดอกบัวขาว ลงมาจากภูเขา ร้องเสียงลั่น เข้ามาทำประทักษิณสามรอบ แล้วเข้าสู่ท้องทางเบื้องขวาของพระนาง นับแต่นั้นมา พระนางก็เริ่ม ทรงครรภ์ (คนอินเดียมีวัฒนธรรมสูง และส่วนมากเคร่งศาสนาธรรมเนียมของเขา ไม่ว่า จะเป็นชาวพุทธ หรือพวกนับถือศาสนาฮินดู เมื่อย่างเข้าไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งใด เขาจะทำความเคารพ สถานที่นั้นๆ ด้วยการทำประทักษิณเดินเวียนสามรอบเสมอ โดยเดินเวียนขวา)
เมื่อครรภ์พระนางแก่จวนครบทศมาส (๑๐ เดือน) ธรรมเนียมของคนอินเดียสมัยนั้น (ถึงแม้ขณะนี้ ยังปฏิบัติกันอยู่ แต่โดยมากเฉพาะลูกคนแรก) ฝ่ายหญิงจะเดินทางไปอยู่คลอดบุตร ที่บ้านพ่อแม่ของตน พระนางมายาเทวี จึงเสด็จกลับยังพระราชวังเดิมของกษัตริย์โกลิยะ (พระราชบิดาของพระนาง) ที่เมืองเทวทหะนคร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์นัก

ตามพุทธประวัติกล่าวว่าลุมพินีอยู่กึ่งทางระหว่างกบิลพัสดุ์กับเทวะทหะนคร (แต่เวลานี้ ตัวเมืองทั้งสอง ไม่มีซากเหลืออยู่เลย) เมื่อขบวนยาตราไปได้ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร จากกบิลพัสดุ์ถึงป่าลุมพินี พระนางเจ้าประชวรพระครรภ์หนักจะประสูติ จึงให้หยุดขบวนประทับ ใต้ต้นสาละ ทรงยืนเหนี่ยวกิ่งสาละ ณ วันวิสาขปุรณมี ดิถีเพ็ญเดือน ๖ แห่งปีก่อนพุทธศก ๘๐ เวลาสายใกล้เที่ยง เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ก็ได้ประสูติ จากครรภ์พระมารดา ทรงเพียบพร้อมด้วย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการครบบริบูรณ์ อันเป็นลักษณะแห่ง องค์พุทธางกูรโดยเฉพาะ
และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่พระองค์ได้เสร็จออกจากพระครรภ์แล้ว ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ก้าวพระบาทออกไปได้ ๗ ก้าว พร้อมกับกล่าววาจา ประกาศความสูงสุดว่า
“เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ของเราจะไม่มีอีกแล้ว” ดังนี้
เป็นบุพนิมิตหมายว่า พระองค์จะประกาศรัศมีแห่งธรรมของพระองค์ไปใน เจ็ดชนบทน้อยใหญ่ ของอินเดียสมัยนั้น พระองค์ประสูติบริสุทธิ์ ไม่เปรอะเปื้อนพระองค์ ด้วยครรภ์มลทิน มีหมู่เทพยดามาคอยรับ ก่อนที่พระวรกายจะถึงแผ่นดิน มีธารน้ำร้อนน้ำเย็น พร้อมที่จะสรงสนาน พระวรกาย
พระองค์ประสูติได้เจ็ดวัน พระนางสิริมหามายาเทวีก็เสด็จทิวงคต (พุทธองค์ทรงตรัสภายหลัง กับพระอานนท์ว่า “ถูกแล้ว อานนท์ จริงทีเดียว มารดาแห่งโพธิสัตว์มีชนมายุน้อย เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์แล้ว ได้เจ็ดวัน ย่อมสวรรคต ย่อมเข้าถึงเทวนิกายชั้นดุสิต”) พระนางสิริมหามายาเสด็จทิวงคตแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ได้มอบการเลี้ยงดู พระราชกุมารแก่พระนางปชาบดีโคตมี (น้องสาวพระนางมหามายาเทวี) และก็ทรงเป็นพระมเหสี ของพระเจ้าสุทโธนะด้วย พระนางทรงมีพระเมตตารักใคร่พระกุมารยิ่งกว่าพระโอรสของพระนางเอง ทั้งๆ ที่ต่อมา จะทรงมีพระโอรสและธิดาถึงสองพระองค์ คือ นันทกุมาร (ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายคลึงพระบรมศาสดาอย่างยิ่ง ในกาลต่อมา) และรูปนันทากุมารี

ตรัสรู้

ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ

ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้

ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา

ปรินิพพาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า “บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน” และมีพระดำรัสว่า “โย โว อานนท ธมม จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต โส โว มมจจเยน สตถา” อันแปลว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว”

พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก ซึ่งถือได้ว่า “พระสุภภัททะ” คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้

ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” (อปปมาเทน สมปาเทต)

จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช

11336054_784223478363588_731244254_n

แบบฝึกหัด

พระพุทรเจ้าปรินิพพานเมื่อใด ?

1. 80 พรรษา ( ถูก เพราะ พระพุทรเจ้า ปรินิพพานเมื่อน 80พรรษา)

2. 90 พรรษา (ผิด เพราะ พระพุทรเจ้าไม่ได้ปรินิพพาน 90 พรรษา)

3. 78 พรรษา (ผิด เพราะ พระพุทรเจ้าไม่ได้ปรินิพพาน 78 พรรษา)

4. 70 พรรษา (ผิด เพราะ พระพุทรเจ้าไม่ได้ปรินิพพาน 70 พรรษา) 

วิชา คณิตพื้นฐาน  (ครูนิศารัตน์ มาสุข)

อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

สาระการเรียนร้ 
  1.อัตราส่วน
1.1อัตราส่ วนที เท่ ากัน
1.2อัตราส่ วนต่อเนื อง
1.3โจทย์ปัญหาอัตราส่ วนในงานอาชีพและชี วิตประจำ าวัน
  2.สัดส่วน
2.1สมบัติของสัดส่ วน
2.2ชนิดของสัดส่ วน
2.3โจทย์ปัญหาสัดส่ วนในงานอาชีพและชี วิตประจำ าวัน
  3.ร้อยละ
3.1การคำ านวณเกี ยวกับร้อยละ
3.2โจทย์ปัญหาร้อยละในงานอาชีพและชี วิตประจำ าวัน
จุดประสงค์การเรียนร้ 
1.อธิบายความหมายและเขียนอัตราส่ วนได้ถูกต้อง
2.คำ านวณค่ าอัตราส่ วนที เท่ ากับอัตราส่ วนที กำ าหนดให้ ได้
3.คำ านวณค่ าอัตราส่ วนอย่ างตำ  าของอัตราส่ วนที กำ าหนดให้ ได้
4.เขียนอัตราส่ วนต่อเนื องจากอัตราส่ วนหลายอัตราส่ วนที กำ าหนดให้ ได้
5.แก้ โจทย์ปัญหาเกี ยวกับอัตราส่ วนในงานอาชีพและชี วิตประจำ าวันได้
6.อธิบายความหมายของสัดส่ วนได้ถูกต้อง

11356080_784228515029751_1432822600_n

แบบฝึกหัด

 5:20คิดเป็นร้อยละเท่าใด

1. ร้อยละ 20 (ผิดเพราะ 5:20 

2. ร้อยละ50

3. ร้อยละ 25 

4. ร้อยละ5

วิชา สังคมศึกษา  (ครูปภาดา มลิกุล) 

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

บุคคลจะเป็นพลเมืองดีของสังคมนั้น ต้องตระหนักถึง บทบาท หน้าที่ ที่จะต้องปฎิบัติสอดคล้องกับหลักธรรม วัฒนธรรม ประเพณี และรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ รวมทั้งบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่
เมื่อสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ ย่อมเกิดความภาคภูมิใจ และเกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม การเป็นพลเมืองที่ดีเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น มีความกระตือรื้อร้น ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชนและสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก ในการดำเนินชีวิตอย่างสงบสุข
พลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฎิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และ กิจที่ควรทำ

“พลเมืองดี”
พลเมืองดี ในวิถีประชาธิปไตย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำต่างๆดังนี้

พลเมือง หมายถึงชาวเมือง ชาวประเทศ ประชาชน

วิถี หมายถึง สาย แนว ทาง ถนน

ประชาธิปไตย หมายถึง รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ถือเอาเสียงข้างมาก

พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จึงหมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลัการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฎิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคม และ ประเทศชาติ ให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตามหลักประชาธิปไตย

แนวทางการปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

ด้านสังคม

– การแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
– รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
– ยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
– ตัดสินใจโดยการใช่เหตุผลมากกว่าอารมณ์
– เคารพกฎระเบียบของสังคม
– มีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และ รักษาสาธารณะสมบัติ
ด้านเศรษฐกิจ
– รู้จักประหยัดและอดออมในครอบครัว
– มีความซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
– พัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
– ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
– สร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
– เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตยื ยึดมั่นอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติ เป็นสำคัญ

ด้วนการเมืองการปกครอง

– เคารพกฎหมาย
– รับฟังความคิดเห็นของทุกคนและมีความอดทนต่อการขัดแย้งร
– ยอมรับเหตุผลที่ดีกว่า
– ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
– กล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่ สมาชิกผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกวุฒิสภา
– ทำงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา
หน้าที่พลเมือง
1.คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว เสียสละแรงกายแรงใจ เพื่อทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ช่วยกันดูแลทรัพย์สินที่เป็นสาธารณะสมบัติ เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่นป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร รวมทั้งตักเตือนและช่วยห้ามปรามบุคคล ไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
2.วินัย ได้แก่ การฝึก กาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมความประพฤติของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม เพื่อให้การปฎิบัติงาน การอยู่ร่วมกันของกลุ่ม ในสังคมไปได้ด้วยความเรียบร้อย

3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฎิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างเต็มเป้าหมาย ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด

4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถความคุมอารมณ์ และ พฤติกรรม ให้เป็นปกติเมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่เป็นปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พอใจ

5.รู้จักประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ่งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน

6.การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยแก่กัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ไม่แแข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน

7.ความซื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่อคติ ปฎิบัติตนปฎิบัติงานตรงไปตรงมา ตามระเบียบปฎิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เลี่ยม หรือกลโกง ไม่ทำแบบ คตในข้องอในกระดูก นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ และมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวง แครงใจกัน

8. การอนุรักษณ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษณ์วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย และนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทย ไปสู่คนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

11303616_787215918064344_1079247894_n

แบบฝึกหัด

 ข้อใดคือความหมายของคำว่า “พลเมือง”

ก. คนทุกคนที่อยู่ในประเทศ

ข. ประชาชนที่เป็นกำลังของประเทศ

ค. เป็นผู้ได้รับการรับรองสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย

ง. ข้อ ข.และ ค.

วิชา อังกฤษ  (ครูสุภารัตน์  หอมนาน)

Present  simple

โครงสร้าง

โครงสร้าง

S + V1 (ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s,es)
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเติม s หรือ es แล้วแต่กรณี)
S + กริยาช่วย + V1
ประธาน + กริยาช่วย + กริยาช่องที่ 1 (ไม่ต้องเติม s ทุกกรณี)
กริยาช่วยที่ใช้บ่อยคือ can, should, must

Tense นี้ค่อนข้างจะยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่ประธานเอกพจน์ต้องเติม s ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม สิ่งที่จะสร้างความยุ่งยากนิดหนึ่งคือการเติม s เพราะกริยาบางตัวต้องเติม es ไม่ใช่แค่ s เฉยๆ แต่ไม่ใช่เรื่องยากถ้าได้ศึกษาการเติม s ที่้ท้ายคำนามเพื่อให้นามนั้นเป็นพหูพจน์

หลักการใช้

ในหนังสืออาจจะบอกไว้หลายข้อ แต่ให้ผู้เรียนจำไว้แค่ 2 ข้อ คือ จริงและวัตร

1. จริง คือ ข้อเท็จจริงทั่วไป ซึ่งเป็นการบอกกล่าว เล่า ถามเรื่องราว เหตุการที่เป็นข้อเท็จริงทั่วๆไป (facts) และข้อมูลข่าวสาร (information)

ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนจะเป็นข้อมูลบอกให้รู้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน มีอาชีพอะไร ชอบอะไร เป็นต้น
His name is Somchai. ชื่อ ของเขา คือ สมชาย

He comes from Thailand. เขา มา จาก ประเทศไทย

He is a doctor. เขา เป็น หมอ

He can play football. เขา สามารถ เล่น ฟุตบอล

ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ก็จะเป็นการบอกให้รู้ว่ามันคืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ลักษณะนิสัยใจคอ แหล่งที่อยู่ เป็นต้น
Elephants are the largest land animals. ช้าง เป็น สัตว์ บก ที่ใหญ่ที่สุด

They have 28 teeth. พวกมัน มี ฟัน 28 ซี่

They eat grass. พวกมัน กิน หญ้า (เป็นอาหาร)

They can swim. พวกมัน สามารถ ว่ายน้ำ

2. วัตร คือ กิจวัตร เป็นสิ่งที่ทำบ่อยๆ อาจทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุดเดือน ทุกปี ก็ได้ ซึ่งจะมีคำเหล่านี้กำกับอยู่ด้วย

always อ๊อลเวส เสมอ

usually ยู๊ชวลลิ โดยปกติ

generally เจ็๊นนะเริลลิ โดยปกติ

often อ๊อฟฟึน บ่อยๆ

frequently ฟรี๊เคว็นลิ บ่อยๆ

sometimes ซั๊มไทมส บางครั้ง

occasionally อะเค๊เชินนัลลิ บางครั้ง

seldom เซ็๊ลดัม ไม่ค่อยจะ

rarely แร๊ลิ ไม่ค่อยจะ

hardly (ever) ฮ๊าดลิ แทบจะไม่ (เคย)

never เน็๊ฝเฝอะ ไม่เคย

every day เอ็ฝริเด ทุกวัน

every+ Sunday/ Monday….. เอ็ฝริ ซันเด / มันเด… ทุกวันอาทิตย์/ จันทร์….

every + / week/ month/ year…. เอ็ฝริ วีค / มันธ/ เยีย … ทุกสัปดาห์ / เดือน/ ปี

I always get up at 6 o’clock.   ผม ตื่นนอน เวลา 6 โมง เสมอ
You usually buy fruit at 7-11. โดยปกติ คุณ ซื้อ ผลไม้ ที่ 7-11
She sometimes does homework at school. บ้างครั้ง หล่อน ทำ การบ้าน ที่ โรงเรียน
It seldom rains in the morning. ฝน ไม่ค่อยจะ ตก ใน ตอนเช้า
We hardly ever drink coffee in the evening. เรา แทบจะไม่ เคย ดื่ม กาแฟ ใน ตอนเย็น
They never drive to work. พวกเขา ไม่เคย ขับรถ ไป ทำงาน
Somchai plays football everyday. สมชาย เล่น ฟุตบอล ทุกวัน
We watch a movie every Monday. เรา ดู หนัง ทุก วันจันทร์
She goes to England every year. หล่อน ไป ประเทศอังกฤษ ทุก ปี

หลังจากที่ได้อ่านหลักการใช้แล้ว ทีนี้มาดูไทม์ไลน์กันว่าจะเป็นจริงอย่างที่บอกไว้หรือไหม่ ทีบอกว่า tense นี้ใช้บอกข้อเท็จจริงทั่วไป

สีดำ คือ  อดีตที่หมองหม่น
สีส้ม คือ  ปัจจุบันที่สดใส
สีชมพู คือ อนาคตที่เรืองรองผ่องอำไพ
ลูกศรสีขาวไซร้คือเหตุการณ์
ให้สังเกตุที่ลูกศรนะครับ มันคือเหตุการณ์ จะเห็นว่ามันมีอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นหมายความว่าข้อความที่เราพูดหรือเขียนมันเป็นจริงอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ ตามที่ลูกศรชี้บอก เช่น

His name is Somchai. ชื่อ ของเขา คือ สมชาย (สองปีก่อนก็ใช่ เมื่อวานก็ใช่ วันนี้ก็ใช่ ในอนาคตก็น่าจะใช่ ถ้าไม่เปลี่ยนชือเสียก่อน)

He comes from Thailand. เขา มา จาก ประเทศไทย (ก็เขาเป็นคนไทย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตด้วย ก็มันเป็นความจริงอย่างนั้น)

He is a doctor. เขา เป็น หมอ (สิบปีก่อนก็เห็นเป็นหมอ ตอนนีก็เป็น อนาคตก็คงไม่พ้นอาชีพหมอ)

ถ้านักเรียนต้องการสื่อเรื่องราวอะไรสักอย่าง ที่มันเป็นข้อเท็จจริงอย่างนี้ ก็อย่าลืมว่าต้องใช้

ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (หากประธานเป็นเอกพจน์กริยาเติม s) นี่คือหลักภาษาที่ต้องจดจำ

สรุปประเด็นที่ต้องจดจำให้ได้

1. Present Simple Tense ใช้เพื่อกล่าวถึงข้อเท็จจริงทั่วไป และการกระทำที่เป็นกิจวัตร
2. โครงสร้าง คือ
– ประธาน + กริยาช่องที่ 1 ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเติม s (เรียนรู้การเติม s ได้จากหัวข้อ “การเติม s ที่ท้ายกริยา present simple tense”)
– ประธาน + กริยาช่วย + กริยาช่องที่ 1 (กริยาไม่เติม s ทุกกรณี)

Tense นี้ พบเจอได้ที่ไหน

>>บทสนทนาทั่วไป ที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ
>>ในหนังสือเรียน สารานุกรม สารคดี และอื่นๆที่นำเสนอข้อเท็จจริง

11655422_787221131397156_1379787638_n

แบบฝึกหัด

  My mom _____ coffee every morning.
a. don’t drink
b. doesn’t drink
c. didn’t drink
d. drink

วิชา ภาษาจีน  (ครูศิริพร  รุ่งกิจการ)

ตัวอักษรพินยินในภาษาจีน

ระบบเสียงในภาษาจีน

ภาษาจีนปัจจุบันในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้ระบบ Hanyu Pinyin Fang’an 汉语拼音方案( สัทอักษรภาษาจีน ) หรือที่เรียกกันว่า “ ระบบ Pinyin ”

ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อักษรโรมันในการออกเสียงตัวอักษร โดยดัดแปลงมาจาก International Alphabets ซึ่ง Hanyu Pinyin นั้น เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ต้องใช้ในการเรียนภาษาจีน

เรียนรู้ภาษาจีนกันค่ะ
汉语拼音

1. 声母 : พยัญชนะ

สัทอักษรแทนเสียงพยัญชนะมีทั้งหมด 23 เสียง

b p m f

d t n l

g k h

j q x

z c s

zh ch sh r

y w

– พยัญชนะกึ่งสระ

พยัญชนะกึ่งสระของระบบเสียงภาษาจีนมี 2 เสียง คือ

y w

– พยัญชนะสะกด ( พยัญชนะท้าย )

พยัญชนะสะกด ( พยัญชนะท้าย ) ของระบบเสียงภาษาจีน มี 2 เสียง คือ

– n – ng

การถอดเสียงพยัญชนะ

b ( ปัว ) p ( พัว ) m ( มัว ) f ( ฟัว )

d (เตอ) t ( เทอ ) n ( เนอ ) l ( เลอ )

g ( เกอ ) k ( เคอ ) h ( เฮอ )

j ( จี ) q ( ชี ) x ( ซี )

z ( จือ ) c ( ชือ ) s ( ซือ )

zh (จรือ) ch (ชรือ) sh (ซรือ) r (ยรือ)

y ( ยี ) w ( อู )

2. 韵母 : สระ

– สระเดี่ยว ในภาษาจีนมี 6 เสียง สัทอักษรที่แทนเสียง สระเดี่ยวมีดังนี้

a o e i u u

อา โอ เออ อี อู อวี

– สระผสม

สระผสมสองเสียงในภาษาจีนมี 9 เสียง

ai ( ไอ ) ei ( เอย )

ao ( อาว ) ou ( โอว )

ia (เอีย / อี + อา) ie (เอีย / อี + เอะ)

ua ( อวา ) uo ( อัว )

ue ( เอว์ )

– สระผสมสามเสียงในภาษาจีนมี 4 เสียง

iao (เอียว /อี+อา+โอ ) iu ( iou ) ( อิว /อี+โอ+อู )

uai ( ไอว /อู+อา+ไอ ) ui ( uei ) ( อุย /อู+เอ+อี )

– สระผสมนาสิก

สระผสมนาสิกในภาษาจีนมี 16 เสียง ดังนี้

an ( อัน ) ang ( อาง )

ong ( อง ) en ( เอิน )

eng ( เอิง ) ian ( เอียน )

in ( อิน ) iang ( เอียง )

ing ( อิง ) iong ( อี + อง )

uan ( อวน ) un ( อุน )

uang( อวาง/อู + อาง ) ueng ( เอวิง/อู + เอิง )

uan ( อวาน ) un ( อวุน )

3. 声调 : วรรณยุกต์

เรียนเสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาจีนมี 4 เสียง ดังนี้

เสียง 1 : ตี้ อี เซิง เทียบเสียง “ สามัญ ” ของวรรณยุกต์ไทย

เสียง 2 : ตี้ เอ้อร์ เซิง เทียบเสียง “ จัตวา ” ของวรรณยุกต์ไทย

เสียง 3 : ตี้ ซาน เซิง เทียบเสียง “ เอก ” ของวรรณยุกต์ไทย

เสียง 4 : ตี้ ซื่อ เซิง เทียบเสียง “ โท ” ของวรรณยุกต์ไทย

การเขียนเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์

การแสดงเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ในการเขียน Pinyin จะต้องเขียนเครื่องหมายกำกับไว้บนสระ เช่น ta shu he หากสระนั้นเป็นสระผสมก็ให้เขียนเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ไว้บนสระเดี่ยวตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้

a o e i u u

เมื่อสระตัวใดมาก่อนก็ให้วางวรรณยุกต์ไว้บนสระนั้น เช่น mao shuo tian

ยกเว้น สระผสม iu และ ui ที่ไม่เป็นไปตามกฎข้างต้น หากเป็น iu เครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์จะวางไว้บนตัว u เช่น liu และหากเป็น ui เครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์ก็จะวางไว้บนตัว i เช่น sui

ในการเติมเสียงวรรณยุกต์ลงบนตัว i นั้น ให้ตัดจุดบนตัว i ออกด้วย

อ้างอิง : วรรณิดา ถึงเเสง. “ระบบเสียงในภาษาจีน”. ภาษาจีนเบื้องต้น1.8-15.
พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546.

11638017_787223744730228_892035526_n11650762_787223754730227_433049621_n

แบบฝึกหัด


1.เขา

2.พ่อ

3.ฉัน

4.ไป

วิชาภาษาไทย  (ครูพารินทร์  ใจแก้ว)

การอ่านออกเสียง

การอ่านออกเสียง คือ การอ่านให้มีเสียงดัง เป็นการอ่านเพื่อส่งสาร เช่น อ่านให้ผู้อื่นฟัง อ่านเพื่อฝึกการอ่านออกเสียง อ่านข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น

เมื่ออ่านออกเสียงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ถ้าอ่านให้ผู้อื่นฟัง ก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย เช่น เมื่อเป็นการอ่านในห้องเรียน ผู้ฟังคือ ครู และเพื่อน ๆ เป็นการอ่านเพื่อความรู้ ต้องการความชัดเจน และถูกต้องมากที่สุด ถ้าเป็นการอ่านผ่านสื่อ เช่น อ่านนิทานเพื่อบันทึกลงแถบบันทึกเสียงให้เพื่อน ๆ ที่มีความพิการทางสายตาก็ต้องอ่านเป็นธรรมชาติเหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน อ่านให้ได้อารมณ์ตามตัวละ

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยการเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยม และเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามไปกับเรื่องราว หรือรสประพันธ์ที่อ่าน
หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

๑. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อเเบ่งวรรคตอน
๒. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง
๓. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำต้องออกเสียงให้ชัดเจน
๔. เน้นเสียงและถ้อยคำ ตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง ฯลฯ
๕. อ่านออกเสียงให้เหมาะสมกับประเภทของเรื่อง เช่น ถ้าอ่านเรื่องที่ให้ข้อเท็จจริงทั่วไป จะอ่านออกเสียงธรรมดาให้ชัดเจน
๖. ในระหว่างที่อ่าน ควรกวาดสายตามองตัวอักษร สลับกับการเงยหน้าขึ้นมาสบตาผู้ฟัง ในลักษณะที่เหมาะสม และดูเป็นธรรมชาติ
๗. ถ้าอ่านในที่ประชุม ต้องยืนทรงตัวในท่าทางที่สง่า มือที่จับกระดาษอยู่ในท่าทางทีเหมาะ ไม่เกร็ง ไม่ยกกระดาษ หรือเอกสารบังหน้า หรือไม่ถือไว้ต่ำเกินไปจนต้องก้มลงอ่านจนตัวงอ
วิธีการอ่านออกเสียงข้อความที่เป็นร้อยแก้ว
สร้างวัฒนธรรมคนรุ่นใหม่ให้เป็นนักอ่าน
ในปัจจุบันกล่าวกันว่า/ เรากำลังอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ หรือเรียกอีกอย่างว่าโลกไร้พรมแดน// แต่จะเรียกอย่างไรก็ตามเถิด/ การอ่าน/ ก็เป็นกระบวนการสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคนในทศวรรษนี้/ เพราะโลกของการศึกษา/ มิได้จำกัดอยู่ภายในห้องเรียน/ ที่มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมเเคบๆ เท่านั้น/ เเต่ข้อมูลข้าวสารสารสนเทศต่างๆ /ได้ย่อโลกให้เล็กลงเท่าที่เราอยากรู้ได้รวดเร็ว/ ในชั่วลัดนิ้วมือเดียวอย่างที่คนโบราณกล่าวไว้/ จะมีสื่อให้อ่านอย่างหลากหลายให้เลือก/ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ที่เราคุ้นเคย/ ไปจนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “อินเทอร์เน็ต” เพราะการต่อสู้รุกรานกันของมนุษย์ยุคใหม่/ จะใช้ข้อมูล/ สติ/ ปัญญา/ และคุณภาพของคนในชาติ/ มากกว่าการใช้กำลังอาวุธเข้าประหัตประหารกัน// หากคนในชาติด้อยคุณภาพ/ ขาดการเรียนรู้/ จะถูกครอบงำทางปัญญาได้ง่ายๆ / จากสื่อต่างๆ จากชาติที่พัฒนาเเล้ว
หากคนไม่อ่านหนังสือ/ ก็ยากที่จะพัฒนาสติปัญญา และความรู้ได้/ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา/ จะต้องทุ่มเทให้คนมีนิสัยรักการอ่าน/ มีทักษะในการอ่าน/ และพัฒนาวิธีการอ่านให้เป็นนักอ่านที่ดี// นักอ่านที่ดีจะมีภูมิคุ้มกันการครอบงำทางปัญญาได้เป็นอย่าง/ รู้เท่ากันคน และสามารถแก้ปัญหาได้ดี
ชาติก้าวไกลด้วยคนไทยรักการอ่าน : มานพ ศรีเทียม
*เครื่องหมาย / หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะสั้นๆ
เครื่องหมาย // หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะที่ยาวกว่าเครื่องหมาย /
เครื่องหมาย ____ หมายถึง การเน้น การเพิ่มน้ำหนักของเสียง
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

๑. ความหมายของ “การอ่านทำนองเสนาะ”
การอ่านทำนองเสนาะคือวิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองแต่ละ
ประเภทหรือหมายถึง การอ่านตามทำนอง (ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว) เพื่อให้
เกิดความเสนาะ (เสนาะ, น่าฟัง, เพราะ, วังเวงใจ)
๒. วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ
การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทำ
ให้เกิดความรู้สึก-ทำให้เห็นความงาม-เห็นความไพเราะ-เห็นภาพพจน์ ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้า
ถึงรสและความงามของบทร้อยกรองที่เรียกว่าอ่านแล้วฟังพริ้งเพราะเสนาะโสต การอ่านทำนอง
เสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง
๓. รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ
๓.๑ รสถ้อย (คำพูด) แต่ละคำมีรสในคำของตัวเอง ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เกิดรสถ้อย
ตัวอย่าง
สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
(พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ)
๓.๒ รสความ (เรื่องราวที่อ่าน) ข้อความที่อ่านมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น โศกเศร้า
สนุกสนาน ตื่นเต้น โกรธ รัก เวลาอ่านต้องอ่านให้มีลีลาไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องนั้นๆ
ตัวอย่าง : บทโศกตอนที่นางวันทองไปส่งพลายงามให้ไปหาย่าทองประศรีที่สุพรรณบุรี
ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์ โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง
(เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม : สุนทรภู่)
๓.๓ รสทำนอง (ระบบเสียงสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว) ในบทร้อยกรองไทยจะประกอบด้วย
ทำนองต่างๆ เช่น ทำนองโคลง ทำนองฉันท์ ทำนองกาพย์ ทำนองกลอนและทำนองร่าย เป็นต้น
สัตว์ พวกหนึ่งนี้ชื่อ พหุบา ทาแฮ
มี อเนกสมญา ยอกย้อน
เท้า เกิดยิ่งจัตวา ควรนับ เขานอ
มาก จวบหมิ่นแสนซ้อน สุดพ้นประมาณฯ
(สัตวาภิธาน : พระยาศรีสนทรโวหาร (น้อย อาจารยากูร)
๓.๔ รสคล้องจอง ในบทร้อยกรองต้องมีคำคล้องจอง ในคำคล้องจองนั้นต้องให้ออกเสียง
ต่อเนื่องกันโดยเน้นสัมผัสนอกเป็นสำคัญ เช่น
ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน
(นิราศภูเขาทอง : สุนทรภู่)
๓.๕ รสภาพ เสียงทำให้เกิดภาพ ในแต่ละคำจะแฝงไปด้วยภาพในการอ่านให้เห็นภาพต้องใช้
เสียงสูง-ต่ำ ดัง – ค่อย แล้วแต่จะให้เกิดภาพอย่างไร เช่น
“มดเอ๋ยมดแดง เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน”
“สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธ์ุ”
“อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤๅ”
๔. หลักการอ่านทำนองเสนาะ มีดังนี้
๑. ก่อนอ่านทำนองเสนาะให้แบ่งคำแบ่งวรรคให้ถูกต้องตามหลักคำประพันธ์เสียก่อนโดย
ต้องระวังในเรื่องความหมายของคำด้วย เพราะคำบางคำอ่านแยกคำกันไม่ได้ เช่น
“สร้อยคอขนมยุระ ยูงงาม”
(ขน-มยุระ, ขนม-ยุระ)
“หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชา”
(อีก-อก-ร่อง, อี-กอ-กร่อง)
“ดุเหว่าจับเต่าร้างร้อง เหมือนจากห้องมาหยารัศมี”
(จับ-เต่า-ร้าง, จับ-เต่า)
“แรงเหมือนมดอดเหมือนกา กล้าเหมือนหญิง”
(เหมือน-มด, เหมือน-มด-อด)
๒. อ่านออกเสียงธรรมดาให้คล่องก่อน
๓. อ่านให้ชัดเจน โดยเฉพาะออกเสียง ร ล และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง เช่น
“เกิดเป็นชายชาตรีอย่าขี้ขลาด บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสมอง
หยิบน้ำปลาตราสับปะรดให้ทดลอง ไหนเล่าน้องครีมนวดหน้าทาให้้ที
เนื้อนั้นมีโปรตีนกินเข้าไว้ คนเคราะห์ร้ายคลุ้มคลั่งเรื่องหนังผี
ใช้น้ำคลองกรองเสียก่อนจึงจะดี เห็นมาลีคลี่บานหน้าบ้านเอย”
๔. อ่านให้เอื้อสัมผัส เรียกว่า คำแปรเสียง เพื่อให้เกิดเสียงสัมผัสที่ไพเราะ เช่น
พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
(อ่านว่า พฺระ-สะ-หมุด-สุด-ลึก-ล้น คน-นะ-นา)
ข้าขอเคารพอภิวาท ในพระบาทบพิตรอดิสร
(อ่านว่า ข้า-ขอ-เคา-รบ-อบ-พิ-วาด ใน-พฺระ-บาด-บอ-พิด-อะ-ดิด-สอน
ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ
(อ่านว่า ขอ-สม-หฺวัง-ตั้ง-ปฺระ-โหฺยด-โพด-ทิ-ยาน)
๕. ระวัง ๓ ต อย่าให้ตกหล่น อย่าต่อเติม และอย่าตู่ตัว
๖. อ่านให้ถูกจังหวะ คำประพันธ์แต่ละประเภทมีจังหวะแตกต่างกัน ต้องอ่านให้ถูกวรรคตอนตามแบบแผนของคำประพันธ์นั้นๆ เช่น มุทิงคนาฉันท์ (๒-๒-๓)
“ป๊ะโท่น / ป๊ะโทน /ป๊ะโท่นโท่น บุรุษ / สิโอน / สะเอวไหว
อนงค์ / นำเคลื่อน / เขยื้อนไป สะบัด / สไบ / วิไลตา”
๗. อ่านให้ถูกทำนองของคำประพันธ์นั้นๆ (รสทำนอง)
๘. ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้นๆ รสรัก โศก ตื่นเต้น ขบขัน โกรธ แล้วใส่น้ำเสียงให้สอดคล้องกับรสหรืออารมณ์ต่างๆ เหล่านั้น
๙. อ่านให้เสียงดัง (พอที่จะได้ยินกันทั่วถึง)ไม่ใช่ตะโกน
๑๐. เวลาอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วงๆ ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด เช่น
“วันจันทร มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นดินฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ใบก้านอรชร”
๑๑. เวลาจบให้ทอดเสียงช้าๆ
๕. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ
๑. ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
๒. ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง (อาการรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง)
๓. ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน
๔. ช่วยให้จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ
๕. ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น (ประโยชน์โดยอ้อม)
๖. ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป

11637891_787224781396791_1016474792_n11655538_787224788063457_2116591623_n11647388_787224774730125_1583696124_n11655504_787224784730124_1307983158_n

แบบฝึกหัด

คำใดจัดเป็นสามานยนามทุกคำ

ก. กลุ่ม เรือน บ้าน
ข. น้อง ถนน การเงิน
ค. พัทยา สะพานพุทธ
ง. ความคิด ฝูงปลา ฝูงนก

วิชาวิทยาศาสตร์ (ครูวศิณี  แสงศรีจันทร์)

อาหารและการดำรงชีวิต

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานได้ไม่เป็นพิษและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงต้านทานโรค

สารอาหาร คือ สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของอาหารเป็นสิ่งที่กินเข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน ใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและใช้ในกิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต มี 6 ชนิด คือ คาร์โบโฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ และน้ำ

สารอาหารทั้ง 6 ชนิด

1.คาร์โบไฮเดรต ได้แก่ อาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ข้าว เผือก มัน และอ้อย

2.โปรตีน ได้แก่ เนื้อ ไข่ นม และถั่ว

3.ไขมัน ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน แหล่งที่มาทั้งจากสัตว์และพืช

4.วิตามิน ได้แก่ ผัก และผลไม้

5.แร่ธาตุ ได้แก่ ผัก และผลไม้

6.น้ำ ได้แก่ น้ำเปล่า และน้ำแร่

สารอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายและสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย

– สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
– สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ
– สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
1. คาร์โบไฮเดรต

– พบในแป้งและน้ำตาล
– เมื่อย่อยแล้วได้โมเลกุลที่เล็กที่สุด คือ กลูโคส
– ให้พลังงาน 4 kcal/g
– ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากคาร์โบไฮเดรตจะเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมไว้เป็นแหล่งพลังงานซึ่งสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อและตับทั้งแป้งและไกลโคเจนจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสเพื่อใช้เผาผลาญพลังงานในยามที่เราต้องการ
– ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายควรได้รับขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานของแต่ละบุคคล กล่าวคือพลังงาน 50-60% ได้มาจากคาร์โบไฮเดรต
ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต

1.ให้พลังงานแก่ร่างกาย

2.ช่วยทำให้ไขมันเผาผลาญได้สมบูรณ์

3.เก็บสะสมไว้ในร่างกาย เพื่อนำไปใช้เวลาขาดแคลน

ผลของการขาดคาร์โบไฮเดรต จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ตาลาย

2. โปรตีน

– พบในกลุ่ม เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว

– เมื่อย่อยแล้วได้กรดอะมิโน

– ให้พลังงาน 4 kcal/g

– ร่างกายเปลี่ยนโปรตีนเป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมัน

– กรดอะมิโนมีอยู่ 8 ชนิดที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหารเรียกว่า กรดอะมิโนจำเป็น

ปริมาณของโปรตีนที่ร่างกายควรได้รับ

เด็ก ปริมาณ 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ผู้ใหญ่ ปริมาณ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ประโยชน์ของโปรตีน

1.ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

2.เป็นองค์ประกอบของสาระสำคัญต่างๆในการสร้างเอนไซม์ ฮอร์โมนและสารภูมิคุ้มกัน

ผลของการขาดโปรตีน

เด็ก ถ้าหากขาดโปรตีนอย่างมากจะทำให้เกิดโรคคะวาซิออร์กอร์(kwashiokor) มีอาการอ่อนเพลีย บวม ตับโต
ผู้ใหญ่ ซูบผอม ไม่มีเรี่ยวแรง ฟื้นจากโรคได้ช้า

3.ไขมัน

– ไขมันมี 2 ประเภทคือ ไขมันธรรมดา ได้แก่ ไขมันสัตว์และน้ำมันพืช และไขมันพิเศษ เช่น ไข่แดง
– เมื่อย่อยแล้วได้กรดไขมันกับกลีเซอรอล
– ให้พลังงาน 9 kcal/g
– ช่วยละลายวิตามิน A D E และ
– คอเลสเตอรอล เป็นไขมันพิเศษที่ตับสร้างขึ้นได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากจะทำให้ไปสะสมอยู่ตามหลอดเลือด เป็นสาเหตุ- ให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน
– ถ้ารับประทานไขมันในปริมาณมากจะทำให้เกิดโรคอ้วนและความดันโลหิตสูงได้

ประโยชน์ของไขมัน
1.เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย
2.ไขมันที่สะสมไว้ใต้ผิวหนังเป็นฉนวนป้องกันความร้อนไม่ให้สูญเสียออกจากร่างกาย

3.เป็นส่วนประกอบของเซลล์ประสาทเยื่อหุ้มเซลล์

ผลของการขาดไขมัน

1.ผิวหนังแห้งแตกเป็นแผล และเป็นโรคผิวหนังได้ง่าย

2.ทำให้อาหารไม่อยู่ท้อง คือ หิวง่าย

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ 9 ดังนี้

1) กินอาหารครบ 5 หมู่

2) กินข้าวเป็นอาหารหลัก

3) กินพืชผักให้มาก

4) กินปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ

5) ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย

6) กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร

7) หลีกเลี่ยงการกินอาหรรสหวานจัดและเค็มจัด

8) กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน

9) งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

Screen Shot 2558-07-14 at 8.15.49 AM

ระบบหายใจ

มนุษย์ทุกคนต้องหายใจเพื่อมีชีวิตอยู่ การหายใจเข้า อากาศผ่านไปตามอวัยวะของระบบหายใจตามลำดับ ดังนี้
1.จมูก (Nose)
จมูกส่วนนอกเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย
2. หลอดคอ (Pharynx)
เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 ” หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า “ลูกกระเดือก” ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx)
เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย
4. หลอดลม (Trachea)
เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม ช่องว่าง ระหว่างกระดูกอ่อนรูปตัว U ที่วางเรียงต่อกันมีเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเรียบมายึดติดกัน การที่หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก จึงรับประกันได้ว่าอากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus) ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ ใกล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปอด (Lung)
ปอดมีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบขึ้นด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลม
ระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อน
หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)
เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มปอดซึ่งมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่นิดหน่อย เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง เรียกว่าช่องระหว่างเยื่อหุ้มปอด

กระบวนการในการหายใจ
ในการหายใจนั้นมีโครงกระดูกส่วนอกและ กล้ามเนื้อบริเวณอกเป็นตัวช่วยขณะหายใจเข้า กล้าม เนื้อหลายมัดหดตัวทำให้ทรวงอกขยายออกไปข้างหน้า และยกขึ้นบน ในเวลาเดียวกันกะบังลมจะลดต่ำลง การกระทำทั้งสองอย่างนี้ทำให้โพรงของทรวงอกขยาย ใหญ่มากขึ้น เมื่อกล้ามเนึ้อหยุดทำงานและหย่อนตัวลง ทรวงอกยุบลงและความดันในช่องท้องจะดันกะบังลม กลับขึ้นมาอยู่ในลักษณะเดิม กระบวนการเข่นนี้ทำให้ ความดันในปอดเพิ่มขึ้น เมื่อความดันในปอดเพิ่มขึ้นสูง กว่าความดันของบรรยากาศ อากาศจะถูกดันออกจาก ปอด ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยประการแรกที่ทำให้ อากาศมีการเคลื่อนไหวเข้าออกจากปอดได้นั้น เกิด จากความดันที่แตกต่างกันนั่นเอง
การแลกเปลี่ยนก๊าซและการใช้ออกซิเจน
เมื่อเราหายใจเข้า อากาศภายนอกเข้าสู่อวัยวะ ของระบบหายใจไปยังถุงลมในปอด ที่ผนังของถุงลมมีหลอดเลือดแดงฝอยติดอยู่ ดังนั้นอากาศจึงมีโอกาสใกล้ชิดกับเม็ดเลือดแดงมากออกชิเจนก็จะผ่านผนังนี้เข้าสู่เม็ดเลือดแดง และคาร์บอนไดออกไชด์ก็จะออกจากเม็ดเลือดผ่านผนังออกมาสู่ถุงลม ปกติในอากาศมีออกชิเจนร้อยละ 20 แต่อากาศที่เราหายใจมีออกขิเจนร้อยละ 13

กระบวนการหายใจ การหายใจเข้าและหายใจออก

การหายใจเข้าและหายใจออก
การหายใจเข้าและหายใจออกเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามยึดกระดูกซี่โครง
การหายใจเข้า กล้ามเนื้อกะบังลมหดตัวและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงดึงกระดูกซี่โครงให้ยกตัวขึ้น ปริมาตรของช่องอกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความดัน ในช่องอกลดลง ส่งผลให้อากาศจากภายนอกเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด
การหายใจออก กล้ามเนื้อกะบังลมคลายตัวจะยกตัวสูงขึ้น เป็นจังหวะเดียวกับกระดูกซี่โครงลดต่ำลง ทำให้ปริมาตรในช่องอกลดลง ความดัน เพิ่มขึ้น มากกว่าความดันของอากาศภายนอก อากาศจึงเคลื่อนที่ออกจากปอด

แผนภูมิแสดงสัดส่วนของแก๊สชนิดต่าง ๆ ในลมหายใจเข้าและออก
ความจุอากาศของปอด ความจุอากาศของปอดในแต่ละคนจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
1. เพศ เพศชายจะมีความจุปอดมากกว่าเพศหญิง
2. สภาพร่างกาย นักกีฬามีความจุของปอดมากกว่าคนปกติ
3. อายุ ผู้สูงอายุจะมีความจุปอดลดลง
4. โรคที่เกิดกับปอด โรคบางชนิด เช่นถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งจะทำให้มีความจุปอด ลดลง

ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราการหายใจเข้าและการหายใจออกที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด เช่น ในขณะ ที่เรากลั้นหายใจ ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดจะสูงขึ้น ซึ่งความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของร่างกายให้เกิดการหายใจขึ้นจนได้ ในขณะที่นอนหลับร่างกายจะถูกกระตุ้นน้อยลง จึงทำให้การหายใจเป็นไปอย่างช้าความเข้มข้น ของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดที่มีมากเกินไป เป็นอีกสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหาว ซึ่งการหาวที่เกิดขึ้นนั้นก็เพื่อ เป็นการขับ เอาแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ ที่สะสมอยู่มากเกินไปออกจากร่างกาย

การแลกเปลี่ยนแก๊สของปลา
ปลาหายใจด้วยเหงือก โดยการอ้าปากให้น้ำที่มีแก๊สออกซิเจนละลายอยู่เข้าทางปาก แล้วผ่านออกทางเหงือก แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่เหงือกแล้วหมุนเวียนไปตามระบบหมุนเวียนเลือดต่อไป

การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง

อากาศจะเข้าและออกจากร่างกายแมลงทางช่องหายใจซึ่งอยู่เป็นแถวบริเวณท้อง ช่องหายใจจะติดกับท่อลม โดยท่อลมน ี้จะแตกเป็นแขนงเล็ก ไปยังเนื้อเยื่อ ทั่วร่างกายของแมลงเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส อากาศจากภายนอก จะเคลื่อนที่ไป ตามท่อลม ไปยังเซลล์ แก๊สออกซิเจน ในอากาศจะแพร่เข้าสู่เซลล์ ในขณะที่ ี่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากภายในร่างกาย แพร่ออกสู่อากาศในท่อลมและเคลื่อนที่ย้อนกลับออกสู่ภายนอกร่างกาย

การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา
ไฮดรา ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ แก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด ์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เข้าและ ออกจากเซลล์โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

Screen Shot 2558-07-14 at 8.17.51 AM

แบบฝึกหัด

การทดสอบไบยูเร็ตเป็นการทดสอบสารอาหารประเภทใด

1. ไขมัน

2. โปรตีน

3. คาร์โบไฮเดรต

4. แร่ธาตุ

วิชาสุขศึกษา (ครูประกาย  สมฤทธิ์)

การเจริญเติบโตของวัยรุ่น

1. การเจริญเติบโตของวัยรุ่นชายในช่วงอายุ 12–14 ปี จะมีส่วนสูงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 7– 8 เซนติเมตร ช่วงอายุ 14 –15 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ช่วงอายุ 15 – 17 ปี ส่วนสูงจะเพิ่ม โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 2 – 3 เซนติเมตร ช่วงอายุ 17–18 ปี ส่วนสูงเพิ่ม โดยเฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็จะไม่สูงขึ้นอีกแล้ว ความสูงของผู้ชายจะตามทันและมากกว่าผู้หญิงในช่วงอายุ 13 –14 ปี
สำหรับนํ้าหนักนั้นในช่วงอายุ 12 –15 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 4–5กิโลกรัม ช่วงอายุ15 -18 ปี นํ้าหนักจะเพิ่ม โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 2–3 กิโลกรัม ช่วงอายุ 18 – 20 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 กิโลกรัม หลังจากนั้นนํ้าหนักก็จะเพิ่มขึ้นอีกปีละเล็กน้อยหรืออาจคงที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร นํ้าหนักจะแปรเปลี่ยนได้ไม่หยุดคงที่เหมือนส่วนสูง และนํ้าหนักของผู้ชายก็จะตามทันและมากกว่าผู้หญิงในช่วงอายุ 13 –14 ปี
เนื่องจากวัยรุ่นชายซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 12–14 ปี จะมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้งกับเพื่อนครอบครัว ตลอดจนโรงเรียนหรือหน่วยงานต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เช่น การเล่นกีฬา เล่นดนตรี กิจกรรมพัฒนาชนบท พัฒนาชุมชน จึงทำให้เด็กเกิดความหิวต้องการอาหารในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นและควรได้รับสารอาหารที่ครบทุกหมู่ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย

2. การเจริญเติบโตของวัยรุ่นหญิง ในช่วงอายุ 10 –12 ปี จะมีส่วนสูงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร ช่วงอายุ 12 – 13 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 45 เซนติเมตร ช่วง
อายุ 13 – 16 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1-2 เซนติเมตร ช่วงอายุ 16 –17 ปี ส่วนสูงจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็จะไม่สูงอีก แล้วความสูงของผู้หญิงในช่วงอายุ 10 –13 ปี และก่อนอายุ 10 ปี จะสูงกว่าผู้ชายอยู่พอช่วงอายุ 13 –14 ปี ความสูงของผู้ชายจะตามทัน และมากกว่าในช่วงนี้
สำหรับนํ้าหนักนั้น ในช่วงอายุ 10 – 13 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม ช่วงอายุ 13 –15 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 1 – 2 กิโลกรัม ช่วงอายุ 15 –18 ปี นํ้าหนักจะเพิ่มโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 – 0.7 กิโลกรัม หลังจากนั้นนํ้าหนักก็จะเพิ่มขึ้นอีกปีละเล็กน้อยหรืออาจคงที่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหาร นํ้าหนักอาจจะแปรเปลี่ยนได้ ไม่หยุดคงที่เหมือนส่วนสูง ทั้งนี้นํ้าหนักของผู้หญิงจะถูกผู้ชายตามทันและมากกว่าในช่วงอายุ 13 –14 ปี
ข้อแนะนำเพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
1. รับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ 3 มื้อ และครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน
2. ดื่มนมวันละ 1 – 2 แก้ว เป็นประจำ นมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง คือมีโปรตีน และ
แคลเซียม เพราะแคลเซียมในนมเป็นแคลเซียมที่มีคุณภาพ นมจึงช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตมีรูปร่างสูงใหญ่และแข็งแรง
3. ออกกําลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาที และสมํ่าเสมอไม่ตํ่า
กว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง การออกกําลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อยและที่สำคัญจะช่วยให้ร่างกายสูงใหญ

Screen Shot 2558-07-14 at 8.21.04 AM

แบบฝึกหัด 

 ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยในการเจริญเติบโตของวัยรุ่น

1.ยาบำรุง
2.อาหาร
3.ออกกำลังกาย
4.พักผ่อน

วิชาดนตรี (ครูสราวุฒิ  วงศ์ประเสริฐ)

การประดิษฐ์เครื่องดนตรี

องใช้และของตกแต่งบ้าน เป็นสิ่งที่เราสามารถประดิษฐ์ขึ้นใช้ได้ โดยเลือกวัสดุที่หาง่ายหรือของ
เหลือใช้ เช่น กล่องใส่ขนม กระป๋อง กระดาษที่ใช้แล้ว เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดค่า
ใช้จ่ายในครอบครัวแล้ว ยังสร้างความภูมิใจให้กับตนเองและครอบครัวได้

นำวัสดุเหลือใช้เหล่านี้มาสร้างสรรค์เป็นเครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีชิ้นนี้ใช้เขย่าประกอบจังหวะ เราเรียกว่า “กระป๋องดนตรี”

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
กระป๋องอลูมิเนียม กระป๋องโลหะต่างๆ
กระดาษหน้าเดียว
กาวลาเท็กซ์ หรือแป้งเปียก
ผ้าเทป / กระดาษกาว / สก๊อตเทป หรือกระดาษติดกาว
วัสดุอุปกรณ์สำหรับตกแต่ง เช่น สีต่างๆ ที่มี ถ้าเป็นสีชนิดผสมน้ำ อย่าลืม จานสี พู่กัน แก้วล้าง
พู่กัน ผ้าเช็ดพู่กัน นะจ๊ะ หรืออาจจะตกแต่งด้วยกระดาษสี กระดาษนิตยสารหลากสี แล้วแต่ความ
ถนัดเลยจ้ะ
เราใช้กระป๋องดนตรีสำหรับเขย่าประกอบจังหวะ หรือเรียกว่า เช็คเกอร์

จะ เกิดเสียงเมื่อเมล็ดข้างใน กระทบกับวัสดุที่ห่อหุ้มมันอยู่ เพียงแค่เราใส่เมล็ดต่างๆ ลงไปในวัสดุ
เหลือใช้ที่เรามี เช่น กระป๋อง ขวดพลาสติก กล่องต่างๆ แล้วปิดฝาหรือติดผ้าเทป ก็เป็นเครื่องดนตรี
แล้ว แต่สำหรับชาวยิ้มละไม ที่นอกจากจะรักในเสียงดนตรีแล้วเรายังรักที่จะสร้างสีสันให้กับเครื่อง
ดนตรี ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย มาสร้างสรรค์หน้าตาเช็คเกอร์ที่หลากหลาย ใส่สีสัน วาดลวดลาย
ให้กับเครื่องดนตรีที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลกกันเลยดีกว่า

ขั้นตอนในการทำ
1. ล้างกระป๋องให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง
2. นำกระดาษหน้าเดียวมาแปะลงบนกระป๋อง โดยให้กระดาษด้านที่เป็นสีขาวอยู่ด้านนอก จะแปะทั้ง
แผ่นแบบเรียบๆ หรือถ้าใครไม่ชอบเรียบๆ ลองฉีกกระดาษเป็นชิ้นๆ แล้วแปะให้ทั่วกระป๋องก็ดูดีไปอีก
แบบ
3. ใช้ความสามารถทางด้านศิลปะที่มีอยู่ในตัวมาสร้างสรรค์ลวดลายตกแต่งกระป๋อง ให้สวยงาม ด้วย
การวาดภาพระบายสีลงบนกระป๋อง หรืออาจจะใช้วิธีพิมพ์ภาพใบไม้ วัสดุธรรมชาติ หรือจะฉีกกระดาษ
หลากสีแปะลงบนกระป๋องก็ได้ (ถ้าใช้วิธีฉีกกระดาษแปะ สามารถข้ามขั้นตอนการแปะกระดาษขาวใน
ข้อ 2 ได้เลย)
4. ใส่วัสดุสร้างเสียง เช่น เมล็ดข้าวสาร เมล็ดถั่วต่างๆ ลงในกระป๋อง ลองเขย่าฟังเสียงดู เพิ่มลดจำนวน
เมล็ดตามความพอใจ
5. เมื่อได้เสียงที่พอใจแล้ว ปิดฝากระป๋องด้วยผ้าเทป เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ได้กระป๋องดนตรีมาเขย่า
เล่นกันกับเพื่อนๆ

วิธีเล่นให้สนุก

วิธีแรก
เปิดเพลงที่ชอบ แล้วเขย่ากระป๋องดนตรีประกอบจังหวะ
วิธีที่สอง
ตั้ง วงดนตรีเล่นด้วยกันกับเพื่อนๆ ร้อง เล่น เต้น เขย่าไปตามส่วน ถ้าใครมีวัสดุอย่างอื่นนอกเหนือ
จากกระป๋อง ก็สามารถนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดยาคูลท์ หรือจะทำจากวัสดุ
ธรรมชาติก็ได้

Screen Shot 2558-07-14 at 8.26.36 AM

 แบบฝึกหัด

 ดนตรีไทยให้ความหมายของ “ลูกฆ้อง”(ทางฆ้อง) อย่างไร
1.คือทำนองหลักเป็นเนื้อทำนองที่แท้จริงของเพลงไทยเดิม
2.เป็นการเรียกตามวิธีการแต่งเพลงไทยที่ครูอาจารย์ผู้ประพันธ์
3.การประดิษฐ์ทำนอง โดยยึดลีลาของทำนองฆ้องวงใหญ่เป็นหลัก
4.ถูกหมดทุกข้อ

วิชาว่ายน้ำ(ครูสราวุฒิ วงศ์ประเสริฐ)

ว่ายน้ำ

กีฬาว่ายน้ำ ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน

การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย

การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก ราล์ฟ โทมัส ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิกแต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก

การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ เจ อาเฮอร์ รัดเจน เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน

ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ แกนทูบ เอเดอรี ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี

การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ บาร์นีย์ คีแรน ชาวออสเตรเลียและ ที เอส แบ็ตเติร์สบี้ ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415

อเล็กซ์ วิคแฮม ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป

กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

การแข่งขัน[แก้]
สำหรับท่าการว่ายในการแข่งขันว่ายน้ำ[แก้]
ท่าผีเสื้อ
ท่ากรรเชียง
ท่ากบ
ท่าฟรีสไตล์
สระว่ายน้ำในการแข่งขัน[แก้]

ขนาดสระว่ายน้ำมาตรฐาน
กว้าง 25 เมตร ยาว 50 เมตร มีลู่สำหรับการว่ายทั้งหมด 8 ลู่ แต่ละลู่กว้างประมาณ 7-9 ฟุต

เจ้าหน้าที่[แก้]
เจ้าหน้าที่ของการแข่งขันมีหลายตำแหน่ง[1] [2]

ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร
ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่
กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร
กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด
หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น
กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์
หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด
กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน
เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว
ประเภทการแข่งขัน[แก้]
ฟรีสไตล์ 50 เมตร, 100 เมตร, 200 เมตร, 400 เมตร, 800 และ 1,500 เมตร
กรรเชียง 50 เมตร, 100 เมตร และ 200 เมตร
กบ 50 เมตร, 100 เมตร และ 200 เมตร
ผีเสื้อ 50 เมตร, 100 เมตร และ 200 เมตร
เดี่ยวผสม 200 เมตร และ 400 เมตร
ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 เมตร และ 4 x 200 เมตร
ผลัดผสม 4 x 100 เมตร

Screen Shot 2558-07-14 at 8.31.09 AM

แบบฝึกหัด

การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้นที่ใด 
1.วูลวิช บาร์ท
2.ฮิวแมน สโตร์ก
3.ฟล็อกคิก
4.โดเวอร์ คาเลียส

วิชาภาษาไทยพื้นฐาน (ครูมัลลิกา ฟูเต็มวงศ์)

พ่อขุนรามคำแหง

อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า “พระรามคำแหง” เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี

ผลงาน
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

พระเจ้ารามคำแหงมหาราช
เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น อาณาเขตยังไม่กว้างขวางเท่าใดนัก เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จากปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้ ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อกับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อน ส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียงเขาบันทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ทรงครองราชย์อยู่นั้น พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยายเขตแดนของไทยออกไปอีกในทางโอกาสที่เหมาะสม ดังที่มีข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปดีเมืองฉอด ได้ทำการรบพุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้าเมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป
พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ พระราชบิดาจึงถวายพระนามโอรสองค์เล็กนี้ว่า “เจ้ารามคำแหง” พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ทรงครองอาณาจักรสุโขทัยอยู่จนถึงประมาณปี 1881 จึงเสด็จสวรรคต พระองค์มีพระโอรสพระองค์ด้วยกัน โอรสองค์ใหญ่พระนามไม่ปรากฎเพราะได้สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่เยาว์วัย องค์กลางทรงพระนามว่า “ขุนบาลเมือง” องค์เล็กทรงพระนามว่า “เจ้าราม” และต่อมาได้รับพระราชทานใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง” หลังจากตีทัพขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดแตกพ่ายไป
เมื่อพระเจ้าศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วโอรสองค์กลางขุนบาลเมือง ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมาอีกประมาณ 9 ปี ก็เสด็จสวรรคต พระราชอนุชา คือ เจ้ารามคำแหง จึงได้เสวยราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า พระเจ้ารามคำแหง
พระเจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง”
พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจของพระองค์เป็นอันดับไปดังต่อไปนี้

การขยายอาณาจักร
เมื่อพระเจ้ารามคำแหง เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนบาลเมืองนั้น อาณาจักรสุโขทัยนับว่าตกอยู่ในระหว่างอันตรายรอบด้าน และยากทำการขยายอาณาจักรออกไปได้ เพราะทางเหนือก็ติดต่อกับแคว้นลานนา อันเป็นเชื้อสายไทยด้วยกันมีพระยาเม็งรายเป็นเจ้าเมืองเงินยางและพระยางำเมือง เป็นเจ้าเมืองพะเยาและทั้งพระยาเม็งรายและพระยางำเมือง ขณะนั้นต่างก็มีกำลังอำนาจแข็งแกร่งทั้งคู่ ทางตะวันออกนั้นเล่าก็ติดต่อกับดินแดนของขอม ซึ่งมีชาวไทยเข้าไปตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัยก็จดเขตแดนมอญและพม่า ส่วนทางใต้ก็ถูกเมืองละโว้ของขอมกระหนาบอยู่
ด้วยเหตุนี้พระเจ้ารามคำแหงจึงต้องดำเนินวิเทโศบายในการแผ่อาณาจักรอย่างแยบยล และสุขุมที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง คือแทนที่จะขยายอาณาเขตไปทางเหนือ หรือตะวันออกซึ่งมีคนตั้งหลักแหล่งอยู่มาก พระองค์กลับทรงตัดสินพระทัยขยายอาณาเขตลงไปทางใต้อันเป็นดินแดนของขอม และทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนของมอญ เพื่อให้คนไทยในแคว้นลานนาได้ประจักษ์ในบุญญาธิการ และได้เห็นความแข็งแกร่งของกองทัพไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัยเสียก่อน แล้วไทยในแคว้นลานนาก็อาจจะมารวมเข้าด้วยต่อภายหลังได้โดยไม่ยาก
แต่แม้จะได้ตกลงพระทัย ดังนั้น พระเจ้ารามคำแหงก็ยังคงทรงวิตกอยู่ในข้อที่ว่าถ้าแม้ว่าพระองค์กรีฑาทัพขยายอาณาเขตลงไปสู้รบกับพวกขอมทางใต้แล้วพระองค์อาจจะถูกศัตรูรุกรานลงมาจากทางเหนือก็ได้ บังเอิญในปี พ.ศ. 1829 กษัตริย์ในราชวงศ์หงวนได้ส่งฑูตเข้ามาขอทำไมตรีกับไทย พระองค์จึงยอมรับเป็นไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันมิให้กองทัพจีนยกมารุกรานเมื่อพระองค์ยกทัพไปรบเขมร พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพยายามสร้างความสนิทสนมกับไทยลานนาเช่นได้เสด็จด้วยพระองค์เองไปช่วยพระยาเม็งราย สร้างราชธานีที่นครเชียงใหม่เป็นต้น แหละเมื่อเห็นว่าสัมพันธไมตรีทางเหนือมั่นคงแล้ว พระองค์จึงได้เริ่มขยายอาณาจักรสุโขทัยลงไปทางใต้ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ. 1823 ทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมลายูตลอดรวมไปถึงเมืองยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้
ใน พ.ศ. 1842 ตีได้ประเทศเขมร (กัมพูชา)
ส่วนทางทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตจดเมืองมอญนั้นเล่าพระเจ้ารามคำแหงก็ได้ดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบเช่นเมื่อได้เกิดความขึ้นว่า มะกะโท อำมาตย์เชื้อสายมอญ ซึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและได้มารับราชการใกล้ชิดพระองค์ได้กระทำความผิดชั้นอุกฤติโทษ โดยลักพาเอาพระธิดาของพระองค์หนีกลับไปเมืองมอญ แทนที่พระองค์จะยกทัพตามไปชิงเอาตัวพระราชธิดาคืนมา พระองค์กลับทรงเฉยเสียด้วยได้ทรงคาดการณ์ไกล ทรงมั่นพระทัยว่า มะกะโท ผู้นี้คงจะคิดไปหาโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองมอญ ซึ่งถ้าเมื่อมะกะโทได้เป็นใหญ่ในเมืองมอญก็เปรียบเสมือนพระองค์ได้มอญมาไว้ในอุ้มพระหัตถ์ โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งต่อมาการณ์ก็ได้เป็นไปตามที่ได้ทรงคาดหมายไว้ คือมะกะโท ได้เป็นใหญ่ครอบครองอาณาจักรมอญทั้งหมด แลได้เข้าสามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย โดยพระเจ้ารามคำแหงมิต้องทำการรบพุ่งประการใดพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีราชภิเษกให้มะกะโท และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว”
ด้วยวิเทโศบายอันชาญฉลาด สุขุมคัมภีรภาพของพระองค์นี้เอง จึงเป็นผลให้อาณาจักรไทยในสมัยพระเจ้ารามคำแหงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ปรากฎตามหลักศิลาจารึกว่าทางทิศใต้จดแหลมมลายูทิศตะวันตกได้หัวเมืองมอญทั้งหมด ได้จดเขตแดนหงสาวดี จดอ่าวเบงคอล ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเขมร มีเขตตั้งแต่สันขวานโบราณไปจดทะเลจีน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางทั้งเวียงคำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทิศเหนือมีอาณาเขตจดเมืองลำปาง กล่าวได้ว่าเป็นครั้งตั้งแต่ตั้งอาณาจักรไทยที่ได้แผ่นขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวางถึงเพียงนั้น

การทำนุบำรุงบ้านเมือง
เมื่อได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้วพระเจ้ารามคำแหง ยังได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองอีกเป็นอันมาก เช่นได้ทรงสนับสนุนในทางการค้าพานิช เลิกด่านเก็บภาษีอากรและจังกอบ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนไปมาค้าขายกันได้โดยสะดวกได้ยิ่งขึ้น ได้ส่งเสริมการทำอุตสาหกรรมทำเครื่องถ้วยชาม ถึงกับได้เสด็จไปดูการทำถ้วยชามในประเทศจีนถึงสองครั้ง แล้วนำเอาช่างปั่นถ้วยชามชาวจีนเข้ามาด้วยเป็นอันมาก เพื่อจะได้ให้ฝึกสอนคนไทยให้รู้จักวิธีทำถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผาต่างๆ ซึ่งปรากฏว่าได้เจริญรุ่งเรืองมากในระยะนั้น
ในด้านทางศาลก็ให้ความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรโดยทั่วถึงกันไม่เลือกหน้าทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ถึงกับสั่งให้เจ้าพนักงานแขวนกระดิ่งขนาดใหญ่ไว้ที่ประตูพระราชวังด้านหน้าแม้ใครมีทุกข์ร้อนประการใดจะขอให้ทรงระงับดับเข็ญแล้วก็ให้ลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ทุกเวลา ในขณะพิจารณาสอบสวนและตัดสินคดี พระองค์ก็เสด็จออกฟังและตัดสินด้วยพระองค์เองไปตามความยุติธรรม แสดงความเมตตาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมือนบิดากับบุตรทรงชักนำให้ศาสนาประกอบการบุญกุศล ศรัทธาในพระพุทธศาสนา พระองค์เองทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างแท่นมนังศศิลาไว้ที่ดงตาล สำหรับให้พระสงฆ์แสดงธรรมและบางครั้งก็ใช้เป็นที่ประทับว่าราชการแผ่นดิน

การปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยของพระเจ้ารามคำแหงหรือราษฎรมักเรียกกันติดปากว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้น พระองค์ได้ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย ทรงให้คำแนะนำสั่งสอน ใกล้ชิดเช่นเดียวกับบิดาจะพึงมีต่อบุตร โปรดการสมาคมกับไพร่บ้านพลเมืองไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้ว่าใครจะถวายทูลร้องทุกข์ประการใดแล้ว ก็อนุญาตให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดได้ไม่เลือกหน้าในทุกวันพระมักเสด็จ ออกประทับยังพระแท่นศิลาอาสน์ ทำการสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม
ในด้านการปกครองเพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศนั้นพระองค์ทรงถือว่าชายฉกรรจ์ที่มีอาการครบ 32 ทุกคนเป็นทหารของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ข้าราชการก็มีตำแหน่งลดหลั่นเป็นนายพล นายร้อย นายสิบ ถัดลงมาตามลำดับ
ในด้านการปกครองภายใน จัดเป็นส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอกและเมืองประเทศราชสำหรับหัวเมืองชั้นใน มีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองโดยตรง มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) เป็นเมืองอุปราช มีเมืองทุ่งยั้งบางยม สองแคว (พิษณุโลก) เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองตากเป็นเมืองรายรอบ
สำหรับหัวเมืองชั้นนอกนั้น เรียกว่าเมืองพระยามหานคร ให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองมีเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลามีศึกสงครามก็ให้เกณฑ์พลในหัวเมืองขึ้นของตนไปช่วยทำการรบป้องกันเมือง หัวเมืองชั้นนอกในสมัยนั้น ได้แก่ เมืองสรรคบุรี อู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี ตะนาวศรี เพชรบูรณ์ แลเมืองศรีเทพ
ส่วนเมืองประเทศราชนั้น เป็นเมืองที่อยู่ชายพระราชอาณาเขตมักมีคนต่างด้าวชาวเมืองเดิมปะปนอยู่มาก จึงได้ตั้งให้เจ้านายของเขานั้นจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุกปี แลเมื่อเกิดศึกสงครามจะต้องถล่มทหารมาช่วย เมืองประเทศราชเหล่านี้ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน หลวงพระบาง เวียงจันทร์ และเวียงคำ

การวรรณคดี
นอกจากจะได้ทรงขยายอาณาเขตของไทย ทางปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง และจัดระบบการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว พระเจ้ารามคำแหงยังได้ทรงสร้างสิ่งที่คนไทยจะลืมเสียมิได้อีกอย่างหนึ่ง สิ่งนั้น ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นอันเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ตามหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ได้ทรงคิดอักษรไทยขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. 1826 กล่าวกันว่าได้ดัดแปลงมาจากอักษรคฤนถ์อันเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในอินเดียฝ่ายใต้
ตัวอักษรไทยซึ่งพระเจ้ารามคำแหงคิดขึ้นใช้ในสมัยนั้นตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์จึงอยู่เรียงในบรรทัดเดียวกันหมด ดังจะดูได้จากแผ่นศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาจึงได้มีผู้ค่อยคิดดัดแปลงให้วัฒนาในทางดี และสะดวกในการเขียนมากขึ้น เป็นลำดับ จนกระทั่งถึงอักษรไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้

การศาสนา
ในสมัยพระเจ้ารามคำแหงนั้น ปรากฎว่าศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมากเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก เช่นเมื่อมีคนไทยเดินทางไปยังเกาะลังกา เพื่อบวชเรียนตามลัทธิลังกาวงศ์ คือถือคติอย่างหินยาน มีพระไตรปิฎกเป็นภาษามคธ แล้วเข้ามาตั้งเผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่ที่เมืองนครธรรมราชนั้น พระเจ้ารามคำแหงยังได้เสร็จไปพบด้วยพระองค์เองแล้วนิมนต์พระภิกษุนั้นขึ้นมาตั้งให้เป็นสังฆราชกรุงสุโขทัย และได้บวชในคนไทยที่เลื่อมใสศรัทธาต่อมาตามลำดับ ต่อมาพระเจ้ารามคำแหงได้ทำไมตรีกับลังกาและได้พระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา แลนับแต่นั้นมาคนไทยจึงได้นับถือลัทธิลังกาวงศ์สืบมา

ศิลาจารึก

ในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ได้มีการจัดทำศิลาจารึกขึ้นเป็นครั้งแรกแลนับว่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าพระองค์มิได้ทรงคิดอักษรไทยและทำศิลาจารึกไว้แล้ว คนไทยรุ่นต่อมาก็จะค้นคว้าหาหลักฐานในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ได้ยากยิ่ง

หลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง
เพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ทราบถึงความเป็นมาในการค้นพบหลักศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ข้าพเจ้าจึงขอคัดข้อความจากประชุมจารึกสยาม ภาคที่ 1 จารึกสุโขทัยซึ่งศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เป็นผู้ชำระและแปลมาเสนอไว้ดังต่อไปนี้
เมื่อปีมะเส็ง เบญจศก ศักราช 1995 (พ.ศ.2376) เสด็จไปประพาสเมืองเหนือนมัสการเจดีย์ สถานต่างๆ ไปโดยลำดับประทับเมืองสุโขทัย เสด็จไปเที่ยวประพาสพบแผ่นศิลา(พระแท่นมนังคศิลา) แผ่นหนึ่ง เขาก่อไว้ริมเนินปราสาทเก่าหักพังอยู่เป็นที่นับถือกลังเกรงของหมู่มหาชน ถ้าบุคคลไม่เคารพเดินกรายเข้าไปใกล้ให้เกิดการจับไข้ไม่สบาย ทอดพระเนตรเห็นแล้วเสด็จตรงเข้าไปประทับแผ่น ณ ศิลานั้น ก็มิได้มีอันตราสิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยอำนาจพระบารมี เมื่อเสด็จกลับวันสั่งให้ทำการชะลอลงมาก่อเป็นแท่นไว้ที่วัดราชาธิวาส ครั้งภายหลังเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว (รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ดำรัสสั่งให้นำไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสนาราม อนึ่งทรงได้เสาศิลาจารึกอักษรเขมรเสาหนึ่ง จารึกอักษรไทยโบราณเสาหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น
ที่นี่พบศิลาจารึกหลักนี้ไม่ปรากฎแน่ชัด แต่คิดว่าจารึกนี้คงจะใกล้ๆ กับพระแท่นมนังคศิลา เพราในจารึกหลักนี้ด้านที่สามมีกล่าวถึงพระแท่นมนังคศิลา ซึ่งทำให้คิดว่า ศิลาจารึกหลักนี้จะได้ในเวลาฉลองพระแท่นนั้น เพราะฉะนั้นศิลาจารึกหลักนี้คงจะอยู่ใกล้ๆ กับพระแท่นนั้น คือ บนเนินปราสาทนั้นเอง พระแท่นนั้น เมื่อชะลอลงมากรุงเทพฯ แล้ว เดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ
ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ได้โปรดให้เอามาก่อแทนประดิษฐานไว้ที่หน้าวิหารพระคันธาราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อยู่มาจนถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้ เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกสมโภชใน พ.ศ. 2545 จึงโปรดให้ย้ายไปทำเป็นแท่นเศวตฉัตรราชบัลลังก์ ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทปรากฎอยู่ในทุกวันนี้
ส่วนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้น ครั้นพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดให้ส่งหลักศิลานั้นมาด้วย
ภายหลังเมื่อได้เสวยราชย์ พระเจ้าเกล้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ย้ายจากวัดบวรนิเวศ เอาเข้าไปตั้งไว้ศาลารายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามข้างด้านเหนือ พระอุโบสถหลังที่สองนับแต่ทางตะวันตก อยู่ ณ ที่นี้ต่อมาช้านานจนปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 จึงได้ย้ายเอามารวมไว้ที่หอพระสมุด
เรื่องหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปแต่งไว้ในหนังสือต่างๆ นั้น มีอยู่ในบัญชีท้ายคำนำภาษาฝรั่งแล้ว ส่วนนักปราชญ์ไทยแต่ขึ้นนั้นได้เคยพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณเล่มที่ 6 หน้า 3574 ถึง 2577 ในหนังสือเรื่องเมืองสุโขทัย ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง และในประชุมพงศาวดารภาคที่หนึ่ง
เรื่องที่มีในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนี้ แบ่งออกได้เป็นสามตอน ตอนที่ 1 ตั้งแต่บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นเรื่องพ่อขุนรามคำแหงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ ใช้คำว่า “กู” เป็นพื้น
ตอนที่ 2 ไม่ใช่คำว่า “กู” เลย ใช้ว่า “พ่อขุนรามคำแหง” เล่าเรื่องประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย เรื่องสร้างพระแท่นมนังคศิลา เมื่อ 1214 เมื่อสร้างพระมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาไลย เมื่อ ม.ศ. 1207 และที่สุดเรื่องประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.1205 ตอนที่ 3 ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดสุดท้าย เข้าใจว่าจารึกภายหลังปลายปี เพราะตัวอักษรไม่เหมือนกับตอนที่ 1 และที่ 2 คือ ตัวพยัญชนะสั้นกว่าที่สระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง ตอนนี้ (ที่ 3 ) เป็นคำสรรเสริญและขอพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัยที่แผ่ออกไปในครั้งกระโน้น
ผู้แต่ศิลาจารึกนี้ เพื่อจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าเอง มิฉะนั้นก็คงตรัสสั่งให้แต่งและจารึกไว้ มูลเหตุที่จารึกไว้คือเมื่อ ม.ศ. 1214 (พ.ศ.1835) ได้สะกัดกระดานหินพระแท่นมนังคศิลา ประโยชน์ของพระแท่นมนังคศิลาก็คือ ในวันพระอุโบสถพระสงฆ์ได้ใช้นั่งสวดพระปาติโมกข์และแสดงธรรมถ้าไม่ใช้วัดอุโบสถพ่อขุนรามคำแหงก็ได้ประทับนั่งพระราชทานราโชวาทแก่ข้าราชบริพาร และประชาราษฎรทั้งปวงที่มาเฝ้า และเมื่อปี ม.ศ.1214 (พ.ศ.1835) นับเป็นปีที่สำคัญมากในรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง เพราะเป็นปีแรกที่ได้แต่งตั้งราชฑูตไปเมืองจีน
ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยที่มีอยู่ในหอสมุดนี้ เริ่มรวบรวมแต่ในรัชกาลที่ 3 มีจดหมายเหตุปรากฎว่า เมื่อ พ.ศ. 2176 พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ประทับอยู่ ณ วัดราชาธิราชเสด็จขึ้นไปธุดงค์ทางมณฑลฝ่ายเหนือถึงเมือพิษณุโลก สวรรคโลก และเมืองสุโขทัย เมื่อเสด็จไปถึงเมืองสุโขทัยครั้งนั้นทอดพระเนตรเห็นศิลาจารึก 2 หลักคือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง (หลักที่ 1 ) และศิลาจารึกภาษาเขมรของพระมหาธรรมราชาลิไทย (หลักที่ 4) กับแท่นมนังศิลาอยู่ที่เนินปราสาท ณ พระราชวังกรุงสุโขทัยเก่า ราษฎร เช่นสรวงบูชานับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสถามว่าของทั้งสามสิ่งนั้นเดิมอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้เอามารวบรวมไว้ตรงนั้น ก็หาได้ความไม่ ชาวสุโขทัยทราบทูลว่าแต่ว่าเห็นรวบรวมอยู่ตรงนั้นมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาดูเห็นว่าเป็นของสำคัญจะทิ้งไว้เป็นอันตรายเสีย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ส่งมากรุงเทพฯเดิมเอาไว้ที่วัดราชาธิวาส ทั้งสามสิ่ง พระแท่นมนังคศิลานั้นก่อทำเป็นแท่นที่ประทับไว้ตรงใต้ต้นมะขามใหญ่ ข้างหน้าพระอุโบสถ ครั้นเสด็จมาประทับ ณ วัดบวรนิเวศ โปรดฯ ให้ส่งหลักศิลาทั้งสองนั้นมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามอ่านหลักศิลาของพ่อขุนรามคำแหงเอง แล้วโปรดฯ ให้สมเด็จพระมหาสมณะเจ้าพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พร้อมด้วยล่ามเขมรอ่านแปลหลักศิลาของพระธรรมราชาลิไทย ได้ความทราบเรื่องทั้งสองหลัก ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ เสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2394 ต่อมาจึงโปรด ฯ ให้ย้ายพระแท่นมนังคศิลามาก่อแท่นประดิษฐานไว้หน้าวิหารพระคันธารราฐในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม…
“ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2450 พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) ได้พบศิลาจารึก (หลักที่ 5 ) ที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวงแขวงจังหวัดอยุธยาหลักหนึ่ง แต่มีรอยถูกลบมีจนตัวอักษรลบเลือนโดยมาก แต่ยังมีเหลือพอทราบได้ว่าเป็นจารึกกรุงสุโขทัย สืบถามว่าใครได้มาแต่เมื่อใดก็หาได้ความไม่ พระยาโบราณฯ จึงได้ย้ายมารักษาไว้ในอยุธยาพิพิธภัณฑ์สถาน กรมพระยาดำรงราชนุภาพเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตร ทรงพยายามอ่านหนังสือที่ยังเหลืออยู่ ได้ความว่าเป็นศิลาจารึก ของพระธรรมราชาลิไทย คู่กับหลักภาษาเขมรซึ่งอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คือ จารึกความอย่างเดียวกัน เป็นภาษาเขมรหนึ่งหลัก ภาษาไทยหนึ่งหลัก เดิมคงตั้งคู่กันไว้ จึงรับสั่งให้ส่งหลักศิลาจารึกนั้นลงไปไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยกันกับหลักภาษาเขมร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้มาจากเมืองสุโขทัยศิลาจารึก ทั้ง 3 หลักนั้นอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนย้ายมายังหอพระสมุด เมื่อ พ.ศ. 2467

อ้างอิง: ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุช.2514.พระราชประวัติ 9 มหาราช.กรุงเทพฯ: พิทยาคาร

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูป ณ มณฑลพิธี กองหัตถศิลป กรมศิลปากร วันจันทร์ที่ ๗ ธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๓ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา

เมื่อกรมศิลปากรได้ปั้นหล่อพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และภาพจำหลักนูนแสดงเหตุการณ์เรียบร้อยแล้ว จังหวัดสุโขทัยได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ไปยังปะรำประดิษฐานพระบรมรูปชั่วคราว เนินปราสาท เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๘ และได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากเนินปราสาท ไปประดิษฐานยังแท่นฐานปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ปีพระพุทธศักราช ๒๕๑๙

ด้วยพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจที่ทรงสร้างไว้แก่ประเทศชาตินานัปการ มุ่งประโยชน์สุขของราษฎรเป็นสำคัญ การรวมประเทศ การแผ่ขยายอาณาเขต การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ ประชาชนชาวไทยจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ ประดิษฐานไว้ ณ เมืองกรุงเก่าสุโขทัย เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ยั่งยืนสืบไปชั่วกาลนาน

คำจารึกพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ จังหวัดสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระโอรสในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง
ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อพระชนมมายุ ๑๙ ชรรษา
เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๒
ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๖
โปรดเกล้าฯ ให้สลักศิลาจารึกลงเหตุการณ์ เมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๕
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ชองชาติสืบมา
ทรงกระทำสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน
พระราชทานพระราชกำหนดกฎหมายและทรงบำรุงการพระศาสนาให้รุ่งเรือง
บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์
สวรรคตเมื่อพุทธศักราช ๑๘๔๒
ประชาชนชาวไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์นี้ไว้เพื่อประกาศเกียรติคุณชั่วนิรันดร์

Screen Shot 2558-07-14 at 8.40.29 AM

 แบบฝึกหัด

 ในศิลาจารึกเรื่องใดมิได้กล่าวไว้
1.ลักษณะของศิลาจารึก
2.ประวัติเหตุการณ์สำคัญ
3.พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง
4.พระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหง

วิชาศิลปะ (ครูพรรณณิกา ข่ายสุวรรณ)

ทัศนศิลป์

ศนศิลป์ คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิตนาการความคิดสร้างสรรค์มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอนการสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นต่อเนื่อง

ทัศนศิลป์คือการรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเครื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมุติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
ทัศนศิลป์เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศน์.. ศิลป์ นั้น
แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง

จิตรกรรมหมายถึง การสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบด้วยวิธีการลาก การระบายสีลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่นกระดาษ ผ้าใบ แผ่นไม้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดเรื่องราวและความงามตามความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการของผู้วาด

ประติมากรรม ( sculpture) ประติมากรรม หมายถึง การสร้างงานทัศนศิลป์ที่เกิดจากกรปั้น การแกะสลัก การหล่อ การเชื่อม เป็นต้น โดยมีลักษณะ 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา เช่นรูปคน รูปสัตว์ รูปสิ่งของ เป็นต้น ประติมากรรมจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

แบบนูนต่ำ ( bas-relief) เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้เกิดภาพที่นูนขึ้นจากพื้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ (เหรียญบาท เหรียญพระห้อยคัว) เป็นต้น แบบนูนสูง ( high- relief) เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่งเป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกตามความเป็นจริง เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ เป็นต้น
แบบลอยตัว ( round- relief) เป็นการปั้นหรือสลักที่สามารถมองเห็นและสัมผัส ชื่นชมความงามของผลงานได้ทุกด้านหรือรอบด้าน เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น สถาปัตยกรรม ( Archiecture)
สถาปัตยกรรม หมายถึง ศิลปะและวิทยาการแห่งการก่อสร้างที่นำมาทำเพื่อสนองวามต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างอย่างงดงาม

แบบเปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่น อาคารเรียน ที่พักอาศัย เป็นต้น
แบบปิด หมายถึง สถาปัตยกรรมที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปใช้สอยได้ เช่นสถูป เจดีย์

ภาพพิมพ์ภาพพิมพ์ (Printing)ภาพพิมพ์ หมายถึง ผลงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยวิธีการพิมพ์ ด้วยการกดแม่พิมพ์ให้ติดเป็นภาพบนกระดาษ เช่นแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์โลหะ เป็นต้นภาพพิมพ์สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

พิมพ์ผิวนูน ( Relief process) เป็นกระบวนการพิมพ์ให้เกิดส่วนลึกและนูนหรือมีความแตกต่างทางผิวพื้นของแม่พิมพ์ด้วยการแกะ หล่อ กัดด้วยกรด หรือวิธีอื่นๆ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ ภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น

พิมพ์ร่องลึก ( intaglio process) เป็นการพิมพ์ที่ตรงกันข้ามกับกระบวนการพิมพ์ผิวนูน ได้แก่ เอทชิง เป็นต้น
พิมพ์พื้นราบ (planographic process) กลวิธีนี้รู้จักในนามของภาพพิมพ์หิน
พิมพ์ฉากพิมพ์ (serigraphic process) การพิมพ์แบบนี้ที่รู้จักกันดีคือการพิมพ์ตัดกระดาษ เป็นต้น

Screen Shot 2558-07-14 at 9.49.39 AM

แบบฝึกหัด

ข้อใดคือประเภทของทัศนศิลป์

ก. จิตรกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม

ข. ประติมากรรม ดุริยางคศ์ ิลป์ นาฏศิลป์ วรรณกรรม สื่อผสม

ค. สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์ ภาพพิมพ์ วรรณกรรม สื่อผสม

ง. ภาพพิมพ์ ดุริยางคศ์ ิลป์ วรรณกรรม ประติมากรรม ส่ือผสม